วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Robot

1.หุ่นยนต์ คือ
หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
ข้อมูลมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
 

2.ประเภทของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 
  1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 


  2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า

ข้อมูลมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C


3.ส่วนประกอบของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม(Industrial Robot)
หรือ แขนกลอุตสาหกรรม ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านโปรแกรม การควบคุม กลไก และระบบขับเคลื่อน ซึ่ง ได้เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ใช้งานในปัจจุบันได้ปฏิวัติรูปแบบการทำงานอุตสาหกรรม ไป หุ่นยนต์เหล่านี้ต่างจากหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ มันทำงานได้โดยมีเพียงแค่คอมพิวเตอร์ควบคุมแขนกลและมือจับ แต่ก็มีประโยชน์อย่างมากกับงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์สามารถช่วยการทำงานของมนุษย์ โดยคนงานไม่ต้องทำงานหนักที่สกปรก น่าเบื่อ และอันตราย
     ส่วนประกอบอยู่หลายส่วนได้แก่ ฐาน (Base) ของหุ่นยนต์
   ท่อนชิ้นส่วนที่เป็นแขนกล,
   ข้อต่อจุดหมุน (Joints) 
   ตามชิ้นส่วนที่ต่อกัน
  ปลายของแขนกลที่ใช้ทำงานยกตัวอย่างเช่นมือคีบจับ
  หัวเชื่อม
  อุปกรณ์ประกอบชิ้นส่วน
   ปืนพ่นสี
   หัวเจาะ ฯลฯ คอมพิวเตอร์ที่มาควบคุมแขนกลนั้นจะทำหน้าที่ควบคุมในส่วนที่เป็นมอเตอร์แบบสเต็บ
ข้อมูลมาจาก
และ


4.ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (humanoid robot) 
คือหุ่นยนต์ที่ออกแบบขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีลำตัวพร้อมหัว สองแขน และสองขา แม้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางรูปแบบจะจำลองเฉพาะบางส่วนของร่างกายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตัวแต่เอวขึ้นไป หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางตัวยังอาจมี 'ใบหน้า' พร้อม 'ตา' และ 'ปาก' อีกด้วย แอนดรอยด์ (android) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศชาย และ gynoid คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศหญิง

หุ่นยนต์จะแบ่งสวนประกอบใหญ่ๆ เป็น 4 ส่วนได้แก่
1) อุปกรณ์ทางกล (mechanic) คือ ชิ้นส่วนกลไก ต่างๆของหุ่นยนต์เช่นโครงสราง้ เพลา เฟือง สก
รูส่งกำลัง สายพาน โซ่ สปริง ข้อตอสวมเพล่า คลัตช์ เบรก ข้อต่อ ก้านต่อโยง ตลับลูกปืนและ
ปลอกสวม
2) อุปกรณ์ขับเร้า (actuator) คืออุปกรณ์ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ป้อนเข้าให้ กลาย           เป็นการกระจัด การเคลื่่อนที่่หรือแรง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้ าระบบนิวแมติกส์ และระบบไฮโดรลิกส
3) อุปกรณ์ไฟฟ้า (electronic) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณทางระบบไฟฟ้ า เช่นอุปกรณ์ตรวจรู้                   วงจรขับต่างๆและอุปกรณ์ แสดงผล 
4) อุปกรณ์ควบคุม (controller) คือสมองกลที่ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ เช่น สมองกลที่
ประดิษฐ์จากอุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์เครื่องควบคุมขนาดเล็ก คอมพิวเตอร์ ชนิดแผงวงจร                         สำเร็จรูปเครื่องควบคุมเชิงตรรกะที่สามารถโปรแกรมได้และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อมอลมาจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C
และ
http://home.kku.ac.th/chakso/images/322114_2012/humanoid5.pdf