วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่างระหว่าง  Google map. กับ Google Street View.

Google Street View.
    คือ สามารถสำรวจสถานที่ต่างๆ รอบโลกผ่านภาพ 360 องศาในระดับถนน สามารถสำรวจสถานที่สำคัญ ชมสถานที่มหัศจรรย์ทางธรรมชาติ นำทางการเดินทาง เข้าไปข้างในร้านอาหารและธุรกิจขนาดเล็ก และในขณะนี้ทำได้แม้กระทั่งท่องป่าอเมซอน! ชมการสาธิตหรือเรียกดูแกลเลอรีเพื่อดูคอลเล็กชันจากทั่วทุกมุมโลก
 มาจาก  http://maps.google.co.th/help/maps/streetview/
วิธีการใช้งาน Google Street View Thailand

 1. ให้เราเข้าไปยังเว็บไซต์ http://maps.google.com 
 2. จะมีสัญลักษณ์ตุ๊กตา   สีส้มที่อยู่ทางซ้ายของแผนที่ 

 3. ให้เราลากไอคอนตุ๊กตาสีส้ม จากทางด้านซ้ายของแผนที่ไปยังถนน จังหวัด เมืองที่ต้องการที่เป็นเส้นไฮไลท์สีฟ้า

 4. จากนั้นรูปภาพ Street View จะแสดงรูปขึ้นมา เราดูภาพแบบ 360 องศา โดยใช้เมาส์หมุนภาพไปรอบ ๆ ได้ หากต้องการเลื่อนไปยังตำแหน่งอื่น ให้ลากตุ๊กตาสีส้ม จากแผนที่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ดูรูปประกอบด้านล่าง

 

ตัวอย่างภาพจาก  Google Street View Thailand บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ



แต่

Google maps.

ความสามารถของ Google maps กับงานช่าง และงานท้องถิ่น เช่น
1. สามารถใช้วางแผนการเดินทางได้
2. สามารถตรวจสอบระยะทางถนนได้
3. สามารถตรวจสอบความกว้างยาว ของพื้นที่ ต่างๆ ได้
4. สามารถตรวจสอบเนื้อที่ ของพื้นที่ ที่เราต้องการได้
5. สามารถนำแผนที่ไปใช้งานได้ในเว็บของเราเอง เช่นกำหนดที่ตั้งของ อบต.
6. สามารถประยุกต์สร้างฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานเช่น ระบบแผนที่ภาษีได้

 วิธีการใช้


จากภาพด้านบนจะบนว่า รูปแบบการแสดงแผนที่ มี 3 รูปแบบหลักคือ

1. แบบแผนที่ ตามตัวอย่างด้านบนครับ แสดงเป็นเส้นทางถนน ดูง่าย ซูมขยายได้เต็มที่ แต่ มีข้อด้อยคือเรา ไม่เห็นว่า ภูมิประเทศเป็นเช่นไร เป็นแผนที่แบนเรียบ
2. แบบดาวเทียม ซึ่งก็คือภาพถ่ายดาวเทียมแบบเดียวกับ Google Earth ครับ ข้อดีคือ เห็นเหมือนของจริงเลย มีข้อด้อยคือบางพื้นที่ ภาพเดียวเทียมยังไม่ชัด
3. แบบภูมิประเทศ ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ สามารถดูความสูงต่ำพื้นที่ได้ และก็มีรายละเอียด ถนนหนทางเหมือนแบบแผนที่

ตามที่เราทราบกันครับว่า Google maps เป็นบริการของ Google
เป็นบริษัท ของอเมริกา แต่ GooGle เองก็ให้ความสำคัญกับภาษาไทย เนื่องจาก จำนวนคนที่ใช้ภาษาไทย ก็ เกือย 5% ของ พลโลก

เว็บไซต์ของ Google maps คือ http://maps.google.com/ แต่หากต้องการให้เป็น ภาษาไทย ให้เติม ?hl=th ต่อท้าย ซึ่ง ?hl=th เป็นการกำหนดให้แสดงหน้าเว็บเป็นภาษาไทย ดังนั้น หากต้องการให้หน้าเว็บเป็นภาษาไทย ต้อง ใช้ http://maps.google.com/?hl=th
สรุป
ความแตกต่างระหว่าง  Google map. กับ Google Street View.  Google Street View. สามารถสำรวจสถานที่ต่างๆ รอบโลกผ่านภาพ 360 องศาในระดับถนน แต่ Google map. ไม่สามารถสำรวจสถานที่ต่างๆ รอบโลกผ่านภาพ 360 องศาในระดับถนน แต่สามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งของธุรกิจของเราได้ทำให้ลูกค้ามีโอกาสพบเจอธุรกิจของเราได้ง่ายขึ้นสมมุติว่าเราเปิดคลีนิกทำฟันเล็กๆ หรือร้านกาแฟหลายสิบสาขา
ก็สามารถมาอยู่รวมในบัญชีเดียวกันได้  เป็นต้น



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จีพีเอส

1.GPS คือ

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก[1] หรือ จีพีเอส (อังกฤษGlobal Positioning System: GPS) คือระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้


2.GPS ประกอบด้วย

องค์ประกอบของ GPS
จีพีเอส (GPS) มีหลักการทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลกวันละ 2 รอบและมีตำแหน่งอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูง 20,200 กิโลเมตร สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุกๆ จุดบนผิวโลก ใช้นำร่องจากที่หนึ่งไปที่อื่นตามต้องการ ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของต่างๆ การทำแผนที่ การทำงานรังวัด (Surveying) ตลอดจนใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
องค์ประกอบของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ (Space segment )
2. ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และ
3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)
ส่วนอวกาศ (Space segment)  เป็นส่วนที่อยู่บนอวกาศจะประกอบด้วย ดาวเทียม    24 ดวง โดยมีดาวเทียม 21 ดวงทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากอวกาศ (Space Vehicles,SVs)  ส่วนอีก 3 ดวง เป็นดาวเทียมปฏิบัติการเสริม วงโคจรของดาวเทียมแต่ละดวงจะใช้เวลาโคจร 12 ชั่วโมง ต่อ 1 รอบ โดยจะมี     ทั้งหมด 6 วงโคจร แต่ละวงโคจรมีดาวเทียม 4  ดวง วงโคจรมีมุมเอียง 55°  กับระนาบศูนย์สูตรและห่างกัน 60°  วงโคจรในลักษณะดังกล่าวจะทำให้มีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวงอยู่บนท้องฟ้าทุกๆ จุดบนพื้นผิวโลก ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง    ดาวเทียมชุดแรก เรียก GPS Block I          มีทั้งหมด 10 ดวง  ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นชุดของนาฬิกาอะตอมมิค แบ่งออกเป็นแหล่งกำเนิดความถี่รูบิเดียม 2 เรือน และ ซีเซียม 2 เรือน ทำให้เวลามาตรฐานของ       ดาวเทียมมีความถูกต้องสูงมาก นาฬิกาดังกล่าวช่วยในการคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียม           กับเครื่องรับสัญญาณเพื่อที่จะคำนวณค่าพิกัดตำแหน่งได้
ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) ประกอบไปด้วยสถานีภาคพื้นดินที่ควบคุมระบบ (Operational Control System : OCS) ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลกมีหน้าที่ปรับปรุงให้ข้อมูล        ดาวเทียม มีความถูกต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น
            สถานีควบคุมหลัก ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศในเมืองโคโลราโดสปริงส์ มลรัฐโคโรลาโด    ของสหรัฐ (Colorado Springs)  สถานีติดตามดาวเทียม 5 แห่ง ทำการรังวัดติดตามดาวเทียม        ตลอดเวลา โดยตั้งอยู่ที่  หมู่เกาะฮาวาย (Hawaii) ในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะแอสเซนซัน (Ascension) มหาสมุทรแอตแลนติก     หมู่เกาะดิเอโกการ์เซีย (Diego Garcia) มหาสมุทรอินเดีย      หมู่เกาะควาจาเลียน (Kwajalein) ประเทศฟิลิปปินส์ และเมืองโคโลราโดสปริงส์  สถานีรับส่งสัญญาณ 3 แห่ง ได้แก่ หมู่เกาะควาจาเลียน หมู่เกาะดิเอโกการ์เซีย และ    หมู่เกาะแอสเซนซัน
ส่วนผู้ใช้ (User segment)  ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณหรือตัว GPS ที่เราใช้อยู่มีหลายขนาด สามารถพกพาได้ หรือติดไว้ในรถ เรือ หรือเครื่องบิน เครื่อง GPS จะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณจาก SVs เป็นตำแหน่ง ความเร็ว และเวลาโดยประมาณ ถ้าหากต้องการทราบค่า X Y Z(Position) และเวลาต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง  ความถูกต้องของตำแหน่งขึ้นอยู่กับนาฬิกาและตัว GPS ซึ่งอาจจะหาตำแหน่งที่มีความผิดพลาดได้น้อยกว่า 3 ฟุต นาฬิกาที่ใช้จะมีความถูกต้องสามารถวัดได้ในเวลา 0.000000003 วินาที ซึ่งเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับระบบดาวเทียม GPS เรียกว่าเวลา GPS
         มาจากhttp://www.scitu.net/gcom/?p=901

3.หลังการทำงานของ GPS
       หลักการของเครื่อง GPS คือ การคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับอุปกรณ์รับ GPS โดยจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ประกอบกับได้ระยะทางจากดาวเทียม 3 ดวง ขึ้นไปแล้ว อุปกรณ์ GPS ก็จะสามารถคำนวน หาจุดตัดกันของผิวทรงกลม ของระยะทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงได้       ดังนั้น ในทางทฤษฏี สิ่งที่อุปกรณ์ GPS จำเป็นต้องทราบในการคำนวนหาตำแหน่งแต่ละครั้ง คือ1. ตำแหน่ง ดาวเทียม GPS ในอวกาศ อย่างน้อย 3 ดวง2. ระยะห่างจาก ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
       โดยการจะได้มาซึ่ง ข้อมูลทั้ง 2แบบ ในทางปฏิบัติ คือ       1.การได้มา ซึ่ง ตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ       การได้มา ซึ่งตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ จะต้องได้มีข้อมูลประกอบ 2 ตัว คือa.   ข้อมูลวงโคจร       : จะทำให้อุปกรณ์ GPS ทราบว่า เส้นทางการเดินทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เมื่ไรb. เวลาปัจจุบัน : ซึ่งเมื่ออุปกณ์ GPS ทราบ เวลาปัจจุบัน แล้ว ก็จะใช้เวลาปัจจุบัน ไปคำนวนหาตำแหน่ง ของดาวเทียม GPS จากข้อมูลวงโคจรได้       ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รับ GPS ทราบ ข้อมูลวงโคจร ดาวเทียม GPS และเวลาปัจจุบัน อุปกรณ์รับ GPS ก็จะทราบตำแหน่ง ดาวเทียมในอวกาศได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมด จะได้มาจากสัญญาณดาวเทียมที่อุปกรณ์รับ GPS ตัวนั้นรับได้       2. การได้มา ซึ่ง ระยะห่างของอุปกรณ์รับ GPS กับ ดาวเทียม GPS แต่ละดวง       เนื่องจาก การเตินทางของคลื่นสัญญาณ GPS นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(vคงที่) คือ ความเร็วแสง (186,000ไมล์ต่อวินาที) ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น ถ้าอุปกรณ์รับ GPS รู้ระยะเวลา(t) ที่สัญญาณใช้ในการเดินทางจาก ดาวเทียม GPS มายังอุปกรณ์รับ GPS ก็จะสามารถคำนวนระยะทางระหว่าง ดาวเทียม GPS กับ อุปกรณ์รับ GPS ได้ จากสูตร       ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง       ซึ่งเมื่อเราทราบระยะห่างของดาวเทียมกับอุปกรณ์ GPS มากเท่าไร เราก็จะหาจุดของผิวทรงกลม ทำให้อุปกรณ์ GPS สามารถทราบว่าตัวเองอยู่นะจุดใดบนพื้นโลกได้ เช่น       ดาวเทียม GPS 1 : ลอยอยู่ ณ จุดหนึ่งในอวกาศ ซึ่งเรารู้ตำแหน่ง จากข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 1 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 1 คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนผิวทรงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส
       ดาวเทียม GPS 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 2 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 2 คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนเส้นรอบวงที่เป็นการตัดกันของ ทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 2 วง
       ดาวเทียม GPS 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 3 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 3 คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นได้แค่ 2 จุด ที่เกิดจากจุดตัดของ ผิวทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ผิวทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2 และ ผิวทรงกลมรัศมี 11,160 ไมล์ ของดาวเทียม GPS3รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 3 วง
       ดังนั้น หากอุปกรณ์ GPS ยิ่งสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS มากดวงเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถ ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น       ในกรณี ที่อุปกรณ์รับ GPS สามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากดาวเทียม GPS เพียง 3 ดวง อุปกรณ์รับ GPS จะมีความสามารถในการประมาณตำแหน่งบนพื้นโลกได้ และจะตัดจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งบนพื้นโลกทิ้งไป ทำให้เหลือเพียงตำแหน่งแหน่งเดียวที่เป็นไปได้
       จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่ อยู่ในอวกาศซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติ โดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเองซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับ สัญญาณ ได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง ( ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

   มาจาก  http://www.gpsdeedee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538825826

4.ประโยชน์ของ GPS
  • การนำร่องจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆตามต้องการ
  • การติดตามการเคลื่อนที่ การหาตำแหน่งของคน สิ่งของต่างๆ หรือยานพาหนะที่เคลื่อนที่
  • ใช้บอกได้ว่าขณะนี้เราอยู่ที่ใด และ/หรือเราเคยไปที่ใดมาแล้วบ้าง
ในส่วนของการนำ GPS มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ หรือใช้ในการเดินทางโดยจักรยาน ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ GPS ไว้บนตัวรถ ทำงานร่วมกับแผนที่ประเทศไทย และแผนที่เมืองต่างๆ บนโลก เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์บนแผนที่นั้น สามารถบันทึกเส้นทางที่เราต้องการเดินทางไป หรือนำไปยังเส้นทางที่คนอื่นได้บันทึกไว้แล้ วบอกถึงทิศทางที่จะต้องไป ระยะทางที่เหลือ และระยะทางที่จะถึงปลายทางด้วย (ขึ้นกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ GPS) ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเดินทาง การค้นหาสถานที่ และไปยังจุดหมายที่ต้องการได้แม่นยำและรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถพัฒนาไปถึงการแก้ไขปัญหาจราจร ที่ส่วนหนึ่งเกิดจาดผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง จนทำให้ขับขี่ได้ช้าลง หรือหลงทางได้ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งยังมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการเดินป่า โดยใช้งานคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละรุ่น/ยี่ห้อ เช่น การเก็บระยะทางโดยรวม, นาฬิกา, เข็มทิศ, เวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เป็นต้น
   มาจากhttp://161.200.184.9/webelarning/elearning%20Computer53/GPS/_gps3.html

5.ระบบติดตามรถยนต์ GPS

GPS Tracking หรือที่เรียกว่าระบบติดตามรถผ่านดาวเทียม เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริการยานพาหนะในยุดใหม่ และการนำอุปกรณ์ติดตามรถ หรือ กล่อง GPS มาใช้ร่วมกับระบบติดตามรถ ที่ชื่อว่าระบบ Intelligence aWarelive Fleet Tracking ที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถมากกว่าการติดตามพฤติกรรมการใช้รถ เช่น ดูเส้นทาง ,ความเร็ว, การออกนอกเส้นทางฯ ศักยภาพของโปรแกรมอัจฉริยะถูกออกแบบมาให้สามารถ คำนวน cost analysis เก็บข้อมูลการทำงานต่อวัน, คิดค่าแรงโดยรวมต่อหน่วย , เก็บข้อมูลค่าบำรุงรักษารถเช่น น้ำมันที่ใช้วิ่ง เช่น น้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ ,ยางรถ ฯลฯ เป็นต้น และนำผลที่ได้มาบริหารจัดการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจึงสามารถกำหนดรายจ่ายให้สัมพันธ์กับรายรับได้อย่างใกล้เคียงที่สุด ส่งผลให้องค์กรหรือผู้ประกอบการเกิดประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียอย่างครบวงจรของการใช้รถจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างแท้จริง
  มาจากhttp://www.dee-in.com/


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์แสดงผลเสียง

1.Sound  Card  การ์ดเสียง

 1.1 Sound Card (การ์ดเสียง) คือ สียงเป็น ส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้
ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย

-การติดตั้งภายใน PCI , PCIE
  PCI มาจากคำว่า Peripheral Component Interconnection ซึ่งเป็น Local Bus แบบหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน หลาย ๆ คนอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่า Local Bus ซึ่งจริง ๆ แล้วมันหมายถึงระบบบัสที่มีเส้นสายสัญญาณที่เชื่อมต่อกันโดยตรงระหว่างบัสของไมโครโปรเซสเซอร์ (System Bus) กับ Local Bus ซึ่งทำให้อัตราความเร็วและขนาดของบิตข้อมูลเท่ากับตัวซีพียู แต่ในระบบ PCI Bus จริง ๆ แล้วไม่ได้เชื่อมต่อกับ System Bus แต่จะเชื่อมต่อผ่านกับชุดระบบ PCI Chip Set ซึ่งจะมีข้อดีที่ว่า จะไม่ใช้กระแสไฟจากสัญญาณของ System Bus ทำให้สามารถมีจำนวนของ PCI Slot ได้มาก ส่วนขนาดของบิตข้อมูลที่ใช้ติดต่อกันระหว่าง PCI I/O Card กับซีพียูจะมีขนาด 32 บิต ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาคอขวด แต่จะมีปัญหาอยู่ที่ความเร็วการทำงานที่ 33.3 MHz 

อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน PCI Bus เป็นดังนี้ 
33 MHz x 32 Bit = 1,056 Mbit/Sec หรือ 132 MB/Sec ซึ่งหาเป็นระบบ PCI Bus ขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว หรือประมาณ 264MB/Sec ซึ่งจะเหมาะสมกับงาน Graphics ขนาดใหญ่ต่าง ๆ 

  PCI Express ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่างกันสามารถใช้งานด้วยกันได้ เนื่องจากการออกแบบที่ได้ถูกพิจารณาตั้งแต่แรกของ PCI Express สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เช่น ถ้ามี Card PCI Express ชนิด x8 ก็สามารถใช้ได้กับ Slot ที่มีความเร็วที่สูงกว่า คือ x16 แต่ยังคงวิ่งอยู่ที่ 4 เลนเหมือนเดิม
PCI Express พร้อมที่จะรองรับ Driver ของ PCI ที่ใช้ Software และ OS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังประหยัดพลังงานโดย PCI จะใช้แรงดันที่ 5 V แต่สำหรับ PCI Express ใช้เพียง 3.3 V ยังรวมการทำงานแบบ Hot-Pluggable (เสียบ Card โดยไม่ต้อง ปิดเครื่อง) ส่วนการทำงานในด้าน Graphic ระดับ High end นั้น PCI Express ได้ถูกออกแบบให้รองรับการใช้พลังงานที่สูงถึง 75 W ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิด x1 จะใช้พลังงานตามการออกแบบอยู่ที่ 25W ในความเป็นจริงใช้เพียง 10W และที่เกินนั้นรองรับ PCI Express x8 slot ขณะที่ AGP เองรองรับได้ 25 W ถึง 42 W เท่านั้น ในส่วนของอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงที่ต้องการต่อออกจาก PCI Express Slot นั้นจะใช้ Cable ได้ยาวถึง 5 เมตร
PCI Express ได้ออกมา 2 Version คือ X1 ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการ Bandwidth สูง หรือเพียง 400 MB/s และ X16 ที่ใช้กับ Graphic Card ที่ 4 GB/s ระบบ Bus ยังคงเป็นแบบอนุกรมซึ่งสามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน คล้าย Technology Hypertransport ของ AMD โดยจะส่งข้อมูลอยู่ในรูแบบของ Packet เป็นแบบเดียวกับการทำงานของ OSI model ใน Layer 3 (network Layer) การส่งข้อมูลของ PCI Express จะส่งไปตาม Line หรือ Lane ซึ่งต่อตรงกับอุปกรณ์ที่กำลังติดต่อด้วย และ ค่าที่ระบุว่ามีกี่ Line หรือ Lane คือ ตัวเลขหลัง “X” โดย x1 = 1 Line, x4 = 4 Line, x8 = 8 Line และ x16 = 1 6 Line สำหรับความเร็วนั้นเนื่องจาก PCI Express จะส่งข้อมูลไปกลับได้พร้อมกัน จึงต้องคิดเป็น 2 เท่า ฉะนั้น เมื่อความเร็วถูกระบุที่ 1 GB/s สำหรับ 4x ความเร็วรวมจะอยู่ที่ 2 GB/s


-การติดตั้งภายนอก USB
ก่อนทำการติดตั้งการ์ดเสียง ให้ตรวจสอบข้อมูลที่มาพร้อมกับการ์ดเสียง แนวทางที่ปรากฏอยู่ที่นี่เป็นข้อมูลโดยทั่วไป และเอกสารประกอบการ์ดเสียงอาจมีข้อมูลสำคัญสำหรับการติดตั้งการ์ดเสียงโดยเฉพาะ นอกจากนี้ คุณควรตรวจสอบข้อมูลที่ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ให้แน่ใจ เพื่อดูว่าการเปิดคอมพิวเตอร์ส่งผลต่อการรับประกันของคอมพิวเตอร์หรือไม่
ก่อนที่จะติดตั้งการ์ดเสียง คุณจำเป็นต้องมีสิ่งต่อไปนี้
  • การ์ดเสียงที่คุณต้องการติดตั้ง
  • ไขควงปากแฉกสำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ ถ้าจำเป็น
  • ช่องเสียบการ์ด PCI ที่ว่างอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ของคุณ นอกจากว่าคุณวางแผนที่จะแทนที่การ์ดเสียงที่มีอยู่ (ซึ่งในกรณีนี้คุณสามารถเสียบการ์ดอันใหม่ลงในช่องเสียบการ์ดนั้น)
ถ้าการ์ดเสียงของคุณมาพร้อมกับซีดี ดีวีดี หรือสื่อแบบถอดได้ชนิดอื่น โปรแกรมควบคุมสำหรับการ์ดเสียงของคุณอาจมีอยู่ในสื่อดังกล่าว แต่ให้รอจนกว่าWindows จะเสร็จสิ้นการค้นหาและติดตั้งโปรแกรมควบคุม Windows จะดำเนินการโดยอัตโนมัติหลังจากคุณติดตั้งการ์ดเสียงลงในคอมพิวเตอร์ของคุณและเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้า Windows ไม่พบโปรแกรมควบคุมที่เหมาะกับการ์ดเสียงของคุณ ให้ลองติดตั้งโปรแกรมควบคุมที่มาพร้อมกับการ์ดเสียง ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตอาจมีโปรแกรมอื่นสำหรับการ์ดเสียงของคุณมาด้วย


หัวต่อสำหรับการ์ดเสียงทั่วไป
การ์ดเสียงส่วนใหญ่จะมีหัวต่อสัญญาณออกอย่างน้อยหนึ่งช่องเพื่อเชื่อมต่อกับลำโพง และหัวต่อสัญญาณเข้าอีกหนึ่งช่องเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์รับสัญญาณเสียงเข้า
 จากhttp://windows.microsoft.com/th-th/windows7/install-or-remove-a-sound-card


2.Speaker ลำโพง
1.1 Speaker ลำโพง  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (driver) และลำโพงทั้งตู้ (speaker system) ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก)
ลำโพงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายนิ้ว จนถึงใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนับสิบนิ้ว โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน

-แบบฟูลเรนจ์  (full-range) คือลำโพงที่มีเสียงครบย่านความถี่สูงกลางต่ำในดอกเดียวกัน แต่ไม่ว่าจะมีกี่ดอกก็ตามแต่ หากครบย่านความถี่สูงกลางต่ำก็เป็น full-range แล้วครับ ไม่วาจะใช้กี่ดอกก็ตามแต่ครับ

-แบบมีซับวูฟเฟอร์ (subwoofer) ซับวูฟเฟอร์ถือเป็นอุปกรณ์ฯชิ้นสำคัญที่มีหน้าที่ในการเติมเสียงต่ำให้กับชุดเครื่องเสียง  หรือจะกล่าวว่ามันเป็นสิ่งเสพติดสำหรับนักเล่นฯที่พิสมัยในอานุภาพความสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นก็คงไม่เกินเลยไปนัก  แล้วก็เป็นที่ทราบกันดีว่าซับวูฟเฟอร์ที่จะสามารถผลิตเสียงต่ำได้ลึกสุดๆ จำเป็นต้องมีขนาดหน้าตัดของกรวยลำโพงที่ใหญ่โตมโหฬารถึงจะสามารถ 
-แบบรอบทิศทาง(Surround system) คุณเชื่อหรือไม่ว่าการรับชมภาพยนตร์จากแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยลำโพงเพียงคู่เดียว จะทำให้คุณสามารถรับชมภาพยนตร์ด้วยระบบเสียงรอบทิศทางได้อย่างง่ายๆ ด้วยการปรับแต่งผ่านโปรแกรมชมภาพยนตร์ยอดนิยมอย่าง PowerDVD 5.0 หรือ WinDVD เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ให้มีรสชาดมากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างน่าประทับใจเสียด้วย
1.1 Reference mode: จะเป็นการสร้างระบบเสียง 5.1 โดยความกว้างของเสียงจากลำโพงคู่หน้านั้นจะเป็นไปตามระยะห่างจริงของลำโพงคู่หน้า (ดูรูปที่ 4)
รูปที่ 4 โหมด Reference
รูปที่ 5 โหมด Wide
1.2 Wide mode: เป็นการสร้างระบบเสียง 5.1 เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่ความกว้างของเสียงที่ได้จากลำโพงคู่หน้านั้นจะกว้างกว่าระยะห่างจริงของลำโพง ซึ่งหมายความง่ายๆ ก็คือจำลองเสียงของลำโพงคู่หน้าให้ห่างกันมากขึ้น ซึ่งโหมดนี้จะเหมาะกับลำโพงที่วางใกล้กันมากๆ เช่น ลำโพงคู่ที่วางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์หรือลำโพงที่ติดมากับโทรทัศน์ (ดูรูปที่ 5)

3.head  phone  หูฟัง
3.1 head  phone  หูฟัง คือ เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพง ประกอบด้วยตัวหูฟัง จะได้ยินเสียงเมื่อนำไปครอบกับหูและไมโครโฟนขนาดเล็กในตัวสำหรับใช้สำหรับติดต่อสื่อสารเพื่อการพูดได้ เช่นทางโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสิ่งบันเทิงในการฟังเพลงเล่นวิดีโอเกมส์ ปรับให้เข้ากับกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้เสียง สามารถพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้เพราะมีน้ำหนักเบา

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรเจคเตอร์ คืออะไร

          ปัจจุบันความต้องการในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นย่อมใด้เปรียบคู่แข่ง เสมอการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้องโปรเจคเตอร์ได้มีวิวัฒนาการมาจากเครื่อง Over Head หรืออีกชื่อหนึ่งคือเครื่องปิ้งแผ่นใสในภาษาชาวบ้าน ที่เอาไว้ฉายสไลด์แผ่นใสเมื่อก่อนก็ว่าได้ โดยพอมาถึงยุคของโปรเจคเตอร์ก็ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาพกพาได้อย่างสะดวก
โปรเจคเตอร์ (projector) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการแสดงภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะสำหรับการนำมาใช้ เสนองานหรือที่เราเรียกว่า presentation หรืออาจนำมาทำเป็น Home Theater โดยปกติ โปรเจคเตอร์สามารถนำมาต่อกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น วีดีโอ วีดีโอซีดี หรือ ดีวีดี รวมทั้งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เนื่องจากราคาของโปรเจคเตอร์ค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจึงควรพิถีพิถันในการเลือกซื้อ ซึ่งมีองค์ประกอบในการเลือก ดังนี้
        -  ระบบเชื่อมต่อ สามารถนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เราต้องการได้หรือไม่ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ วีดีโอ audio in, out เป็นต้น รวมทั้งสามารถต่อได้พร้อมๆ กันได้หลายอุปกรณ์
        -  ความละเอียดในการแสดงผล เรียกอีกอย่างว่า pixel หรือจุดในการแสดงผล ตัวอย่าง เช่น 800 x 600 หรือ 1024 x 768 โดยจะมีการเรียกความละเอียดเป็น VGA (640 x 480), SVAG (800 x600) , XGA (1024 x 768) และ SXGA มากกว่า 1280 x 1024 คำแนะนำควรเลือกซื้อ ความละเอียดอย่างน้อย SVGA ภาพที่เรารับชมจากภาพยนตร์หรือภาพต่างๆ ในจอคอมพิวเตอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยการนำ pixel  เป็นจำนวนมากมาประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ โดยที่ resolution ก็คือตัวที่ใช้บอกจำนวนของ pixel ที่ Projector สามารถแสดงออกมาเป็นภาพได้ resolution ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

             Standard (4:3)

ความละเอียด
พิกเซลแนวตั้ง
พิกเซลแนวนอน
พิกเซลรวม
WVGA
854
480
410000
WSVGA
1024
576
590000
WXGA
1280
720
922000

            Widescreen (16:9)
ความละเอียด
พิกเซลแนวตั้ง
พิกเซลแนวนอน
พิกเซลรวม
WVGA
854
480
410000
WSVGA
1024
576
590000
WXGA
1280
720
922000

        -  Compress Mode คือ สามารถแสดงผลในความละเอียดที่ต่ำกว่าได้ เช่น ความละเอียดของโปรเจคเตอร์ 800 x 600 สามารถแสดงผลในความละเอียดต่ำ 640 x 480 ได้
       -  จำนวนสี ความสามารถในการแสดงสี
       -  Aspect ratio อัตราส่วนระหว่าง จำนวนจุดในแนวตั้ง กับ จำนวนจุดในแนวนอน
       -  ความสว่าง หรือ Brightness มีหน่วยเป็น Ansi Lumen ถ้ามีค่ามาก จะสามารถแสดงภาพในห้องที่เปิดไฟได้ เช่น ความสว่างที่เลือกใช้ เช่น 1000, 1200, 1800, 2000, 3000 Ansi Lumens เป็นต้น ยิ่งความสว่างมากเท่าใด ก็จะแสดงผลได้ดีมากยิ่งขึ้น
          ความสว่างในการใช้งาน ค่าความสว่างในการใช้งาน (Brightness) มีหน่วยวัดเป็น ANSI Lumens ยิ่งมีค่ามาก หมายความว่าตัวเครื่องมีความสว่างมาก ในขณะเดียวกันราคาเครื่องก็จะสูงตามไปด้วย ในการหาโปรเจคเตอร์มาใช้งานนั้นก็ให้ดูขนาดของห้องหรือพื้นที่ที่จะใช้งาน 

แหล่งที่มา มาจาก ; http://www.projectorok.com/index.phproute=information/news/detail&news_id=29

Projector Canon LV-7292A






































โปรเจ็กเตอร์ Canon LV-7292A
รุ่น LV-7292A
Resolution: 1024 x 768
อัตราส่วนความคมชัด: 2000:1
ความสว่าง (ANSI Lumens): 2200lm
มีเสียงดัง: 36.4 / 34.4 / 29.0dB
อัตราส่วน: 0.55 ประเภท 04:03
แก้ไข Keystone: V 30? (ฟังก์ชั่นอัตโนมัติที่ทำงานกับ? 20?)
อัตราการซูม: ดิจิตอลซูม 0.5 เท่า - 4x
เลนส์ฉาย: ตั้งค่าเลนส์: F2.00 - 2.15, 18.38 - 22.06mm
หมายเลข F, ความยาวโฟกัส: 1.2
ซูมขยาย: นอกขับเคลื่อน
อัตราส่วนการเปลี่ยนเลนส์ (คงที่): 06:01
อินพุทอาร์ซีเอ: ช่องสัญญาณวิดีโอคอมโพสิต
อินพุต HDMI: ใช่
ควบคุม RJ45: 1000BASE-T / 100BASE-TX / 10BASE-T
ขนาด: 333.5 x 247 x 101mm
น้ำหนัก: 2.99kg
Warranty: 2Y



จอภาพ (Monitor)

            จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ

แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา
เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร
ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้
และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต

            การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
            จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
           LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
              สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ
             Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
             Thin Flim Transistor (TFT) 
          จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN
เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
LCD
CRT






  • พื้นที่ในการแสดงผล
    ดีกว่ามากเมื่อเทียบขนาดเดียวกัน






  • มุมมอง
    มีแค่ 49-100 องศา
    มีมุมมองกว้างถึง >190 องศา






  • ความสว่าง
    สบายตา
    สว่างมาก (แสบตาถ้าต้องเพ่งนานๆ)






  • อัตราการรีเฟรชของภาพ
    แบบ(TFT)ใกล้เคียง CRT
    มีอัตราเร็วที่สุด






  • การใช้พลังงาน
    ประหยัด
    กินไฟ






  • การแผ่รังสี
  • มีอัตราการแผ่รังสี =0
    มีการแผ่รังสี






  • พื้นที่ในการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่น้อยนิด
    ใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า






  • อายุการใช้งาน
  • ประมาณ 6.85 ปี (2,500วัน)
    6-8 ปี
    ข้อควรจำ
                 ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ
    เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ

    มาจากhttp://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/monitor.htm


    เช่นLED 19.5'' BENQ GL2023A (B)

    LED 19.5'' BENQ GL2023A (B)
    รุ่น: GL2023A
    ระยะห่างระหว่างพิกเซล: 0.27
    เวลาตอบสนอง: 5ms
    แม็กซ์ Resolution: 1600 x 900
    อัตราส่วนความคมชัด: 600:1
    ความสว่าง 200 cd/m2
    การแสดงผล: 19.5 "W
    มุมมองภาพ: 90/65
    พาวเวอร์: เพาเวอร์ซัพพลาย (90 ~ 264 AC) Built-in
    การใช้พลังงาน (เมื่อเปิดเครื่อง) 15W (ฐาน Energy Star)
    (โหมดประหยัดพลังงาน) <0.3W
    D-Sub: 1 พอร์ต
    Warranty: 3Y