วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรเจคเตอร์ คืออะไร

          ปัจจุบันความต้องการในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นย่อมใด้เปรียบคู่แข่ง เสมอการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้องโปรเจคเตอร์ได้มีวิวัฒนาการมาจากเครื่อง Over Head หรืออีกชื่อหนึ่งคือเครื่องปิ้งแผ่นใสในภาษาชาวบ้าน ที่เอาไว้ฉายสไลด์แผ่นใสเมื่อก่อนก็ว่าได้ โดยพอมาถึงยุคของโปรเจคเตอร์ก็ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาพกพาได้อย่างสะดวก
โปรเจคเตอร์ (projector) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการแสดงภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะสำหรับการนำมาใช้ เสนองานหรือที่เราเรียกว่า presentation หรืออาจนำมาทำเป็น Home Theater โดยปกติ โปรเจคเตอร์สามารถนำมาต่อกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น วีดีโอ วีดีโอซีดี หรือ ดีวีดี รวมทั้งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เนื่องจากราคาของโปรเจคเตอร์ค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจึงควรพิถีพิถันในการเลือกซื้อ ซึ่งมีองค์ประกอบในการเลือก ดังนี้
        -  ระบบเชื่อมต่อ สามารถนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เราต้องการได้หรือไม่ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ วีดีโอ audio in, out เป็นต้น รวมทั้งสามารถต่อได้พร้อมๆ กันได้หลายอุปกรณ์
        -  ความละเอียดในการแสดงผล เรียกอีกอย่างว่า pixel หรือจุดในการแสดงผล ตัวอย่าง เช่น 800 x 600 หรือ 1024 x 768 โดยจะมีการเรียกความละเอียดเป็น VGA (640 x 480), SVAG (800 x600) , XGA (1024 x 768) และ SXGA มากกว่า 1280 x 1024 คำแนะนำควรเลือกซื้อ ความละเอียดอย่างน้อย SVGA ภาพที่เรารับชมจากภาพยนตร์หรือภาพต่างๆ ในจอคอมพิวเตอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยการนำ pixel  เป็นจำนวนมากมาประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ โดยที่ resolution ก็คือตัวที่ใช้บอกจำนวนของ pixel ที่ Projector สามารถแสดงออกมาเป็นภาพได้ resolution ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

             Standard (4:3)

ความละเอียด
พิกเซลแนวตั้ง
พิกเซลแนวนอน
พิกเซลรวม
WVGA
854
480
410000
WSVGA
1024
576
590000
WXGA
1280
720
922000

            Widescreen (16:9)
ความละเอียด
พิกเซลแนวตั้ง
พิกเซลแนวนอน
พิกเซลรวม
WVGA
854
480
410000
WSVGA
1024
576
590000
WXGA
1280
720
922000

        -  Compress Mode คือ สามารถแสดงผลในความละเอียดที่ต่ำกว่าได้ เช่น ความละเอียดของโปรเจคเตอร์ 800 x 600 สามารถแสดงผลในความละเอียดต่ำ 640 x 480 ได้
       -  จำนวนสี ความสามารถในการแสดงสี
       -  Aspect ratio อัตราส่วนระหว่าง จำนวนจุดในแนวตั้ง กับ จำนวนจุดในแนวนอน
       -  ความสว่าง หรือ Brightness มีหน่วยเป็น Ansi Lumen ถ้ามีค่ามาก จะสามารถแสดงภาพในห้องที่เปิดไฟได้ เช่น ความสว่างที่เลือกใช้ เช่น 1000, 1200, 1800, 2000, 3000 Ansi Lumens เป็นต้น ยิ่งความสว่างมากเท่าใด ก็จะแสดงผลได้ดีมากยิ่งขึ้น
          ความสว่างในการใช้งาน ค่าความสว่างในการใช้งาน (Brightness) มีหน่วยวัดเป็น ANSI Lumens ยิ่งมีค่ามาก หมายความว่าตัวเครื่องมีความสว่างมาก ในขณะเดียวกันราคาเครื่องก็จะสูงตามไปด้วย ในการหาโปรเจคเตอร์มาใช้งานนั้นก็ให้ดูขนาดของห้องหรือพื้นที่ที่จะใช้งาน 

แหล่งที่มา มาจาก ; http://www.projectorok.com/index.phproute=information/news/detail&news_id=29

Projector Canon LV-7292A






































โปรเจ็กเตอร์ Canon LV-7292A
รุ่น LV-7292A
Resolution: 1024 x 768
อัตราส่วนความคมชัด: 2000:1
ความสว่าง (ANSI Lumens): 2200lm
มีเสียงดัง: 36.4 / 34.4 / 29.0dB
อัตราส่วน: 0.55 ประเภท 04:03
แก้ไข Keystone: V 30? (ฟังก์ชั่นอัตโนมัติที่ทำงานกับ? 20?)
อัตราการซูม: ดิจิตอลซูม 0.5 เท่า - 4x
เลนส์ฉาย: ตั้งค่าเลนส์: F2.00 - 2.15, 18.38 - 22.06mm
หมายเลข F, ความยาวโฟกัส: 1.2
ซูมขยาย: นอกขับเคลื่อน
อัตราส่วนการเปลี่ยนเลนส์ (คงที่): 06:01
อินพุทอาร์ซีเอ: ช่องสัญญาณวิดีโอคอมโพสิต
อินพุต HDMI: ใช่
ควบคุม RJ45: 1000BASE-T / 100BASE-TX / 10BASE-T
ขนาด: 333.5 x 247 x 101mm
น้ำหนัก: 2.99kg
Warranty: 2Y



จอภาพ (Monitor)

            จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ

แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา
เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร
ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้
และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต

            การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
            จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
           LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
              สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ
             Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
             Thin Flim Transistor (TFT) 
          จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN
เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
LCD
CRT






  • พื้นที่ในการแสดงผล
    ดีกว่ามากเมื่อเทียบขนาดเดียวกัน






  • มุมมอง
    มีแค่ 49-100 องศา
    มีมุมมองกว้างถึง >190 องศา






  • ความสว่าง
    สบายตา
    สว่างมาก (แสบตาถ้าต้องเพ่งนานๆ)






  • อัตราการรีเฟรชของภาพ
    แบบ(TFT)ใกล้เคียง CRT
    มีอัตราเร็วที่สุด






  • การใช้พลังงาน
    ประหยัด
    กินไฟ






  • การแผ่รังสี
  • มีอัตราการแผ่รังสี =0
    มีการแผ่รังสี






  • พื้นที่ในการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่น้อยนิด
    ใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า






  • อายุการใช้งาน
  • ประมาณ 6.85 ปี (2,500วัน)
    6-8 ปี
    ข้อควรจำ
                 ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ
    เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ

    มาจากhttp://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/monitor.htm


    เช่นLED 19.5'' BENQ GL2023A (B)

    LED 19.5'' BENQ GL2023A (B)
    รุ่น: GL2023A
    ระยะห่างระหว่างพิกเซล: 0.27
    เวลาตอบสนอง: 5ms
    แม็กซ์ Resolution: 1600 x 900
    อัตราส่วนความคมชัด: 600:1
    ความสว่าง 200 cd/m2
    การแสดงผล: 19.5 "W
    มุมมองภาพ: 90/65
    พาวเวอร์: เพาเวอร์ซัพพลาย (90 ~ 264 AC) Built-in
    การใช้พลังงาน (เมื่อเปิดเครื่อง) 15W (ฐาน Energy Star)
    (โหมดประหยัดพลังงาน) <0.3W
    D-Sub: 1 พอร์ต
    Warranty: 3Y


    1 ความคิดเห็น:

    1. Casino Bonus Codes 2021 | OKC Casinos
      1 Casino 스피드 바카라 Bonus Code 1xbet 주소 – GET $300 in Casino Bonuses. This promotion also grants you the opportunity to play a 월드벳 variety of bet365 우회 games including video slots, 가입시 꽁머니 환전 live dealer

      ตอบลบ